เปิด 3 กลยุทธ์ ปตท. ลด “ก๊าซเรือนกระจก” ย้ำเป้า Net Zero
จากข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยติดอันดับ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงจะเกิดภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนและสภาพอาการที่แปรปรวนมากที่สุด ปตท. ในฐานะองค์กรแห่งชาติที่แสดงจุดยืนและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ตั้งเป้าหมายมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% ในปี 2030 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 “เร็วกว่า” เป้าหมายประเทศ
Net Zero หรือ Net Zero Greenhouse Gas Emissions หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับกลับคืนมา หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยการสร้างสมดุลให้กับสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งความสมดุลนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่า เทคโนโลยีดักจับ/กักเก็บคาร์บอน เป็นต้น โดยในสภาวะสมดุลนี้จะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และถ้าทุกประเทศทั่วโลกสามารถบรรลุเป้า Net Zero Greenhouse Gas Emissions ได้ ก็หมายความว่าเราสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ลดภาวะโลกร้อนนั่นเอง
ปตท. ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งเล็งเห็นโอกาสและความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงนำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการทบทวนเป้าหมายและทิศทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ใหม่และสนับสนุนทิศทางการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศ พร้อมยกระดับการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยกำหนดเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศไทยที่ประกาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 ซึ่งตั้งเป้าไว้ในปี ค.ศ. 2065
โดยกำหนดแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจอย่าง “Net Zero 3P” ประกอบด้วย
1. Pursuit of Lower Emission เร่งปรับกระบวนการผลิต เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการลดคาร์บอนของ ปตท. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมาย “Clean Growth” ขององค์กร โดยกลุ่ม ปตท. มีหลายโครงการที่พร้อมจะขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เพื่อนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารที่มีประโยชน์ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต เมทานอล หรือนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต การใช้พลังงานทดแทน การใช้พลังงานไฮโดรเจน โครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน และการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
2. Portfolio Transformation เร่งเปลี่ยนสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคีย์เวิร์ดสำคัญของกลยุทธ์ที่ 2 นี้ อยู่ที่วิสัยทัศน์ของกลุ่ม ปตท. ที่ว่า “Powering Life with Future Energy and Beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต” ซึ่งให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในธุรกิจที่เป็น Future Energy ซึ่งไปไกลกว่าธุรกิจพลังงานรูปแบบเดิมๆ เช่น เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ระบบกักเก็บพลังงาน แบตเตอรี่ EV Value Chain ไฮโดรเจน ฯลฯ ซึ่ง Future Energy เหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ก้าวไปสู่ Net Zero ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ยังมีการปรับแผนธุรกิจอีกหลายอย่าง เช่น ในปี 2030 – 2050 ตั้งเป้าจะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 3 ประเภท คือ “ถ่านหิน” (ล่าสุดได้มีการขายออกไปแล้ว) น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็พร้อมเดินหน้าลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 12 กิกะวัตต์ภายในปี 2030
3. Partnership with Nature and Society เร่งปลูกป่า เพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น ด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าร่วมกับภาครัฐและชุมชน โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้ปลูกป่าไปแล้ว 1 ล้านไร่ และมีแผนปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ โดยคาดว่าพื้นที่ป่าทั้งหมดจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี สุดท้ายแล้ว ต้องบอกว่านี่คือแนวทางที่สอดประสานอย่างกลมกลืนกับเสียงของโลกที่ตื่นตัวเรื่อง Net Zero และความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่ง ปตท.พร้อมร่วมเป็นพลังเคียงบ่าเคียงไหล่เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างมั่นคงและยั่งยืน
นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปตท. ได้อาสาฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1.1 ล้านไร่ ปัจจุบันพื้นที่ป่าเหล่านี้ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์กว่า 80% สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือ เปรียบเทียบการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ส่วนบุคคลเฉลี่ยปีละ 4.6 แสนคัน และปลดปล่อยออกซิเจนได้กว่า 1.55 ล้านตันออกซิเจนต่อปี
อีกทั้ง สร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของชุมชนได้มากถึง 280 ล้านบาทต่อปี การดำเนินการภาคป่าไม้จึงเป็นอีกวิธีสำคัญ โดยกลุ่ม ปตทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. มุ่งปลูกป่าเพิ่มเติม รวม 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 แบ่งเป็นการดำเนินการโดย ปตท. 1 ล้านไร่ และความร่วมมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสำรวจการเติบโตและวิเคราะห์ข้อมูลการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในอนาคตพื้นที่ป่าเหล่านี้จะมีศักยภาพช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้รวมกว่า 4.15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และยังสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และศักยภาพการเป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จึงมุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เร็วกว่าเป้าหมายที่ประเทศกำหนด และแม้ว่าการบรรลุเป้าหมาย Net Zero จะมีความท้าทาย แต่กลุ่ม ปตท. เชื่อมั่นด้วยความพร้อม และทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และสังคมโลก ด้วยจุดมุ่งหมายภายใต้วิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” ที่มุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต”