เป็นไปได้หรือ- ประชาชนสงสัยดูไบฝนตกหนัก-น้ำท่วมเพราะ “ฝนเทียม”

เรียกได้ว่าเป็นภาพไม่น่าเชื่อ เมื่อเมืองที่ร้อนและแห้งอย่างดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) รวมถึงหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น โอมาน อิหร่าน กลับตกอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างอะไรจากเมืองบาดาล หลังฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องทำให้ถนนกลายเป็นแม่น้ำ เปลี่ยนสนามบินเป็นทะเลสาบ

ท่ามกลางคำอธิบายว่าสภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นกับตะวันออกกลางขณะนี้เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลับเกิดกระแสการตั้งข้อสงสัยว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างมืดฟ้ามัวดินนี้ อาจเป็นเพราะ “ฝนเทียม”

เจ้าหน้าที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติยูเออียืนยันว่า ฝนไม่ได้เกิดจากโครงการฝนเทียมของประเทศ และบอกว่า ถึงแม้ว่าจะทำฝนเทียมจริง ก็ไม่น่าเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดฝนตกมากกว่าอัตราการตกตามธรรมชาติ

ดูไบตั้งอยู่บนชายฝั่งยูเออีและมักจะแห้งมาก ปกติจะได้รับปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อปี โดยอาจมีฝนตกหนักมากเป็นเป็นพิเศษครั้งคราว แต่ในช่วงสัปดาห์นี้ มันกลับเกิดฝนมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 75 ปี มากเทียบเท่ากับฝนที่ตกลงมาทั้งปีเลยทีเดียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เฉพาะในเมืองอัลอิน ห่างจากดูไบ 100 กิโลเมตร มีปริมาณฝนถึง 256 มิลลิเมตรในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง

สำหรับฝนเทียม (Cloud Seeding) คือแนวคิดในการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศที่พยายามดึงฝนหรือหิมะออกจากเมฆมากกว่าที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ ฝนหรือหิมะไม่ใช่สิ่งที่สามารถก่อตัวขึ้นได้เองจากความว่างเปล่า แต่เกิดจากความชื้นที่ต้องผ่านกระบวนการควบแน่น (Condensation) ซึ่งในเมฆจะมีอนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่ความชื้นสามารถเข้าไปจับและควบแน่นได้ เรียกว่า “แกนควบแน่น” (Condensation Nuclei)

แกนควบแน่นตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรก มักทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เมฆควบแน่นและปล่อยความชื้นออกไป โดยในเมฆใด ๆ เมื่อมีหยดน้ำเกิดขึ้นเพียงพอ พวกมันจะหนักและตกลงสู่พื้นโลกในรูปของฝนหรือหิมะ

แต่การทำฝนเทียมจะเพิ่มอนุภาคเหล่านั้นในอากาศมากขึ้น โดยใช้เครื่องบินบินผ่านเมฆที่มีโอกาสกลายเป็นเมฆฝนอยู่แล้ว และฉีดอนุภาคเล็ก ๆ เช่น ซิลเวอร์ไอโอไดด์ เข้าไป เพื่อสร้างหยดน้ำหรือน้ำแข็งเพิ่มขึ้น

โดยทั่วไปจะมีการทำฝนเทียมเมื่อสภาพลม ความชื้น และฝุ่นไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดฝนตก แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักพยากรณ์ได้เตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมสูงบริเวณอ่าวอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำฝนเทียม

พูดง่าย ๆ การทำฝนเทียมคือการเร่งกระบวนการเกิดฝนเท่านั้น แต่ที่ผ่านมามีข้อสงสัยมาตลอดว่า การทำฝนเทียมช่วยเพิ่มปริมาณได้ด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์

แดเนียล สเวน นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย บอกว่า “คุณรู้ได้อย่างไรว่าปริมาณฝนท้ายสุดที่ตกลงมาจากเมฆนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการทำฝนเทียม … นี่ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถทำการทดลองที่มีการควบคุมได้อย่างแท้จริง”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ในขณะที่สภาพอากาศยังคงอบอุ่นขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ บางพื้นที่ของโลกจึงร้อนขึ้นและแห้งมากขึ้น การทำฝนเทียมจึงอาจถูกมองว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาในการนำน้ำไปยังพื้นที่ที่ต้องการมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้พื้นที่อื่น ๆ แห้งลงได้เช่นกัน

น้ำก็เหมือนกับสสารอื่น ๆ ไม่สามารถสร้างหรือทำลายได้ สามารถเปลี่ยนรูปได้เฉพาะในขณะที่เคลื่อนที่ผ่านวัฏจักรของน้ำเท่านั้น

สเวนกล่าวว่า “เป็นไปได้ว่าคุณกำลังขโมยน้ำจากคนอื่นเมื่อคุณทำฝนเทียม เพราะอย่างน้อยก็ในระดับภูมิภาค มันเป็นสถานการณ์ที่มีคนได้ประโยชน์และมีคนเสียประโยชน์หากน้ำตกลงมาจากก้อนเมฆในจุดเดียว”

ในขณะเดียวกัน ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดเช่นกันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทมากน้อยเพียงใด แต่ปริมาณน้ำฝนที่บันทึกได้นั้นสอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ตามหลักการแล้ว อากาศที่อุ่นกว่าสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ประมาณ 7% ต่อทุก 1 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้ฝนมีความเข้มข้นมากขึ้น

ริชาร์ด อัลเลน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของมหาวิทยาลัยรีดดิง อธิบายว่า “ความรุนแรงของฝนตกทำลายสถิติ แต่ก็สอดคล้องกับสภาพอากาศที่อบอุ่น โดยมีความชื้นมากขึ้นเติมเชื้อเพลิงให้กับพายุ และทำให้เหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมมรความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ”

ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นว่า หากโลกกยังคงอุ่นขึ้น ภายในสิ้นศตวรรษนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเออีอาจมีปริมาณน้ำฝนต่อปีเพิ่มขึ้นได้ถึง 30%

ดร.ฟรีเดอริก อ็อตโต อาจารย์อาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ที่อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน กล่าวว่า “หากมนุษย์ยังคงเผาน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน สภาพอากาศจะยังคงอุ่นขึ้น ปริมาณน้ำฝนจะยังคงหนักขึ้นเรื่อย ๆ และผู้คนจะยังคงเสียชีวิตจากน้ำท่วม”

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้จะมีการทำฝนเทียมจริง มันจะส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อพายุ การบอกว่าดูไบฝนตกหนักและน้ำท่วมเพราะฝนเทียม เป็นความเข้าใจที่ผิด

“แม้ว่าการทำฝนเทียมจะช่วยกระตุ้นให้เมฆรอบ ๆ ดูไบปล่อยน้ำ แต่บรรยากาศก็มีแนวโน้มที่จะอุ้มน้ำมากขึ้นเพื่อก่อตัวเป็นเมฆตั้งแต่แรกอยู่แล้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ดร.อ็อตโตกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ฝนตกหนักซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในตะวันออกกลางขณะนี้ ปรากฏขึ้นอย่างไม่รู้ตัว โดยเกิดจากพายุลูกใหญ่ที่เคลื่อนตัวช้า ๆ ซึ่งเคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรอาหรับและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวโอมานในช่วงเวลาหลายวัน

พายุลูกนี้สามารถรับเอาความชื้นมหาศาลบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรและกระจายออกไปเหมือนสายน้ำดับเพลิง ฉีดน้ำกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค และเหตุการณ์ฝนตกหนักเช่นนี้จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นเมื่อบรรยากาศโลกอุ่นขึ้น เพราะมันจะสามารถดูดซับความชื้นได้มากขึ้นเหมือนผ้าเช็ดตัว แล้วแผ่ออกมาในรูปแบบของฝนที่ตกอย่างหนัก

เรียบเรียงจาก BBC / CNN

เป็นไปได้หรือ? ประชาชนสงสัยดูไบฝนตกหนัก-น้ำท่วมเพราะ “ฝนเทียม”

ผลบอล UCL เรอัล มาดริด ชนะจุดโทษ แมนฯ ซิตี้ ส่งทีมอังกฤษสูญพันธุ์

พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 17 – 26 เม.ย. เตือนฝนเพิ่มขึ้น ระวังพายุฤดูร้อน!