ปิดฉากประชุมอาเซียน ย้ำไม่ยอมให้วิกฤตในเมียนมา ฉุดรั้งอาเซียน
เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา โจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ปิดงานประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 43 ในช่วงหนึ่งของสุนทรพจน์ ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ระบุว่า แม้การประชุมในวันนี้จะเสร็จสิ้นลง แต่ภารกิจของอาเซียนยังไม่เสร็จและไม่สามารถลุล่วงได้ภายใต้การนำของประธานการประชุมสมัยเดียว หลังจากนั้น ผู้นำอินโดนีเซียได้ส่งมอบสัญลักษณ์การเป็นประธานการประชุมครั้งต่อไปให้แก่สอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จับตาประชุมอาเซียนซัมมิท หารือวาระร้อน เมียนมา-ทะเลจีนใต้
รมว.กต.อาเซียน เมิน ประชุมหารือแบบไม่เป็นทางการเรื่องเมียนมาในไทย
โดยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 44 คาดว่าจะจัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ ภายใต้แนวคิด ASEAN: Enhancing connectivity and resilience นายกรัฐมนตรีระบุว่า ในการประชุมครั้งหน้า อาเซียนจะเน้นประเด็นเรื่องการเป็นศูนย์กลางเพื่อเชื่อมโยงกับชาติอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงการเมืองโลก
ก่อนปิดฉากการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 43 ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา บรรดาผู้แทนของประเทศต่างๆ ได้เข้าร่วมการประชุมที่สำคัญอย่าง EAST Asia Summit ซึ่งหลายฝ่ายให้ความสนใจเพราะเป็นการพบกันระหว่างผู้แทนจากรัสเซีย สหรัฐฯ และจีน สามชาติมหาอำนาจที่มีความไม่ลงรอยกันอยู่ในขณะนี้
เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา บรรดาผู้นำและผู้แทนของชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ชาติได้เข้าร่วมการประชุม East Asia Summit ร่วมกับผู้แทนจากสหรัฐฯ จีน รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ วาระหลักของการประชุมครั้งนี้มีหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ วิกฤตเมียนมา ไปจนถึงสงครามในยูเครน แต่ประเด็นที่ถูกนำมาเป็นวาระหลักในการหารือคือ วิกฤตในเมียนมา ซึ่งที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกได้เชิญชาฮาบุดดิน ชัปปุยส์ ประธานาธิบดีบังกลาเทศ เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งบังกลาเทศเป็นประเทศที่รับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาไว้กว่า 1.2 ล้านคน
ประธานาธิบดีของบังกลาเทศได้เรียกร้องต่อที่ประชุมให้ประชาคมโลกช่วยกันหาวิธีแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งในเมียนมาอย่างยั่งยืน เนื่องจากขณะนี้ บังกลาเทศเองก็เริ่มเข้าสู่ขีดจำกัดที่อาจไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาเพิ่มเติมได้แล้ว
อย่างไรก็ดี ก่อนการประชุม East Asia Summit จะเริ่มขึ้น อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ก็ได้กล่าวถึงประเด็นวิกฤตในเมียนมาเช่นเดียวกัน เลขาฯ ยูเอ็นระบุว่า รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์ทางการเมือง มนุษยธรรม
และสิทธิมนุษยชนในเมียนมา รวมถึงรัฐยะไข่ และสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในสภาพสิ้นหวัง
แต่ขณะเดียวกัน เลขาฯ ยูเอ็นก็ระบุว่ารู้สึกยินดีที่อาเซียนยังคงยึดหลักฉันทามติ 5 ประการเป็นแนวทางในการยุติความขัดแย้งในเมียนมา ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดและฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศ
คำพูดดังกล่าวของประธานาธิบดีบังกลาเทศและเลขาฯยูเอ็น มีขึ้นหลังจากที่ประชุมอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอย่างรุนแรง ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2021 ที่ที่ประชุมอาเซียนออกแถลงการณ์โดยกล่าวถึงกองทัพเมียนมาอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นต้นตอของวิกฤตในเมียนมาในขณะนี้
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ยังได้ระบุว่ารัฐบาลทหารเมียนมาไม่ได้ทำตามหลักฉันทามติ 5 ข้อที่เคยตกลงร่วมกับอาเซียนไว้ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายนปี 2021 ที่ผ่านมา รวมถึง ที่ประชุมของชาติสมาชิกอาเซียนยังได้มีมติเพิ่มเติมไม่ให้รัฐบาลทหารเมียนมาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2026 ด้วย โดยผู้ที่จะขึ้นมาเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ 46 คือ ฟิลิปปินส์คำพูดจาก เครื่องสล็อต
ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาจะถูกเลื่อนไม่ให้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในครั้งที่ 47 ด้วย และต้องเสียโอกาสไป 10 ปีจนกว่าจะได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งถัดไป ซึ่งจะตรงกับปี 2036
สำหรับประเด็นเหล่านี้ เซบาสเตียน สแตรนจิโอ นักวิเคราะห์การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้ให้เห็นว่า แถลงการณ์ของอาเซียนถือเป็นการแสดงจุดยืนเพื่อย้ำเตือนรัฐบาลทหารเมียนมาว่าอาเซียนต้องการให้รัฐบาลทหารปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อดังกล่าว สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า แถลงการณ์ของอาเซียนครั้งนี้ ถือเป็นขั้นตอนการลงโทษเพิ่มเติมเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า รวมถึงกดดันให้กองทัพหยุดทำล้ายประชาชนและพาประเทศกลับเข้าสู่แนวทางของระบอบประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์เตือนว่าหากอาเซียนไม่สามารถจัดการกับวิกฤตในเมียนมาได้ อาเซียนอาจต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องจุดยืนของประชาคมบนเวทีระหว่างประเทศได้
อย่างไรก็ดี ในระหว่างการแถลงข่าวของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายก่อนปิดฉากการประชุมอย่างสมบูรณ์
ประธานาธิบดีวิโดโดได้พูดถึงประเด็นวิกฤตเมียนมากับทิศทางของอาเซียน โดยระบุว่า อาเซียนจะไม่ยอมให้วิกฤตที่ดำเนินอยู่ในเมียนมา มาเป็นตัวประกันและฉุดรั้งการก้าวไปข้างหน้าของอาเซียน
นอกจากประเด็นความขัดแย้งในเมียนมาที่มีการหารือมาตลอดการประชุมทั้ง 3 วันแล้ว ในการประชุมประจำปีนี้ ชาติสมาชิกอาเซียนได้หารือกับชาติมหาอำนาจในการประชุมนอกรอบด้วย เช่น การหารืออาเซียนบวกสาม และการหารือกับอินเดีย
สำหรับการประชุมอาเซียนบวกสามเป็นการประชุมระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยมีหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่น และยุน ซอก-ยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เข้าร่วมการประชุม
เมื่อวานนี้ บรรยากาศในการประชุมอาเซียนบวกสามเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยประเด็นสำคัญเกิดขึ้นหลังจากที่นายกรัฐมนตรีจีนได้เตือนอาเซียนให้หลีกเลี่ยงสงครามเย็นครั้งใหม่ ขณะที่นายกฯ ญี่ปุ่นก็ได้ระบุว่า ตอนนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องรักษาและเสริมสร้างระเบียบระหว่างประเทศที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม
นอกจากการประชุมอาเซียนบวกสามแล้ว เมื่อวานนี้ ผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนยังได้หารือร่วมกับนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียด้วยนายกรัฐมนตรีอินเดียระบุว่า อาเซียนถือเป็นเสาหลักสำคัญของนโยบาย “ปฏิบัติการตะวันออก” ของอินเดีย และอินเดียสนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ตลอดจนย้ำว่าอาเซียนมีบทบาทสำคัญในข้อริเริ่ม Indo-Pacific Oceans Initiative ของอินเดีย
ขณะเดียวกัน โมดียังได้ย้ำว่า ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษของเอเชีย โดยทั้งอาเซียนและอินเดียจะต้องสร้างระเบียบโลกหลังยุคโควิด รวมถึงจะร่วมกันสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่มนุษยชาติด้วย
สรุปรางวัลยอดเยี่ยมวอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ทีมไทย คว้า 3 รางวัล
“กำแพงเมืองจีนเป็นรู” หลังช่างก่อสร้างขี้เกียจอ้อม ใช้รถขุดสร้างทางลัด
เผยสาเหตุ "ซาล่าห์" ย้ายไปซาอุฯ ไม่ได้เพราะสัมพันธ์การทูต