ชาติตะวันตกหวังยูเครนทำสำเร็จบีบรัสเซียยอมเจรจาหยุดยิง

นาง ฮานนา มัลยาร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครนเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่ากองทัพยูเครนได้ยึดคืนหมู่บ้าน 3 แห่งในภูมิภาคซาโปริสเซียทางภาคใต้ของประเทศ และอีก 1 หมู่บ้านในภูมิภาคโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทหารยูเครนยึดได้ 3 หมู่บ้านตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้ยูเครนยึดคืนหมู่บ้านจากรัสเซียเพิ่มเป็น 7 แห่งแล้ว

ส่วนสถานการณ์สู้รบในเมืองบัคมุต กระทรวงกลาโหมยูเครนเปิดเผยว่ากองทัพสามารถเคลื่อนพลรุกคืบไปข้างหน้าประมาณ 250 เมตร ถึง 700 เมตร

ขณะที่ ประธานาธิบดี เอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ได้จัดการแถลงข่าวร่วมกับ นายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ผู้นำเยอรมนี และ นายกรัฐมนตรี อันแซจ์ ดูดา ของโปแลนด์ หลังการหารือเกี่ยวกับหลักประกันด้านความมั่นคงของยูเครนในกรุงปารีส

 ชาติตะวันตกหวังยูเครนทำสำเร็จบีบรัสเซียยอมเจรจาหยุดยิง

รัสเซียมอบเหรียญเกียรติยศให้ทหาร หลังทำลาย Leopard 2 คำพูดจาก สล็อตออนไลน์

ยูเครน รุกกลับ สูญเสียยานเกราะ“Bradley” 16 คัน

ประธานาธิบดี มาครง ประเมินว่าปฏิบัติการรุกกลับของกองทัพยูเครนอาจจะกินเวลานานหลายเดือน แต่เชื่อว่าหากประสบความสำเร็จจะนำไปสู่การเจรจากับรัสเซีย โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับความต้องการของยูเครน เช่นเดียวกับ นาย แอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่แสดงความหวังว่าความสำเร็จจากปฏิบัติการรุกกลับที่เปิดฉากขึ้นแล้วจะบังคับให้ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียต้องเปิดการเจรจาเพื่อยุติการรุกรานยูเครน

ขณะที่เมื่อวานนี้ ( 12 มิ.ย.) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ได้เปิดฉากการฝึกซ้อมป้องกันภัยทางอากาศที่ใช้ชื่อว่า “แอร์ ดีเฟนด์เดอร์ 23” ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมร่วมกันทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของนาโต โดยมีจุดประสงค์คือการรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ เช่นรัสเซีย

การซ้อมรบครั้งนี้มีเยอรมนีเป็นประเทศเจ้าภาพ โดยมี 25 ประเทศสมาชิกและพันธมิตรนอกกลุ่มเช่นญี่ปุ่น และ สวีเดน ส่งบุคคลากรกว่า 10,000 คน และ เครื่องบิน 250 ลำเข้าร่วมฝึกซ้อมไปจนถึงวันที่ 23 มิ.ย.นี้

แม้ว่านาโตยืนยันการฝึกซ้อม “แอร์ ดีเฟนด์เดอร์ 23” ไม่มีเจตนาส่งสัญญาณคุกคามประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ได้เริ่มเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งที่นาโตตัดสินใจจัดการฝึกซ้อมทางอากาศขนาดใหญ่ร่วมกัน เป็นเพราะการที่รัสเซียผนวกแคว้นไครเมียของยูเครนเป็นดินแดนของตัวเองในปี 2015

ขณะที่เมื่อวานนี้องค์กรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อการจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ได้เปิดเผยรายงานที่ระบุว่าตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา 9 ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ เช่น อิหร่าน เกาหลีเหนือ รัสเซีย จีน และ สหรัฐฯ ได้ใช้จ่ายเงินในด้านนี้รวมกันประมาณ 83,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีรายจ่ายด้านอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุดกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินดังกล่าว